Articles Category

รู้จัก Copyright – License – Trademark

เนื้อหาหลักๆ ที่ผมพูดถึงจากมุมมองของคนซึ่งพัฒนาซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สและเคยเข้าไปร่วม บริหารโครงการอย่าง Mambo และ Joomla มานั้น ก็ได้เห็นวิธีการบริหารจัดการโปรเจคที่เกี่ยวกับโอเพนซอร์สว่าเขาบริหาร จัดการกันอย่างไร  เกริ่นนำผมก็แนะนำว่าบริษัทมาร์เวลิค เอ็นจิ้น จำกัดพัฒนาซอฟต์แวร์อะไรมาบ้าง  หัวใจหลักที่ผมต้องการสื่อให้นักพัฒนา หรือผู้ประกอบการ รวมถึงเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ได้ทำความเข้าใจก็คือคำต่างๆ เหล่านี้

  • Copyright (ลิขสิทธิ์)  สิทธิในความเป็นเจ้าของ   ในส่วนนี้จะคุ้มครองทันทีเมื่อเผยแพร่ โดยไม่ต้องจดแจ้ง เช่นเว็บไซต์เมื่อเผยแพร่เว็บไซต์นั้นก็เป็นของสิขสิทธิ์เนื้อหาทันที  ในส่วนของ Code เองปกติแล้วก็จะใส่ข้อมูลสิทสิทธิ์ไว้ใน Header ของไฟล์ (slide หน้า 23) ซึ่งซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ ตาม พรบ.ลิขสิทธิ์ถือเป็น วรรณกรรม
  • License (สัญญาอนุญาต , ใบอนุญาต)   สิทธิ์ในการให้ใช้ซอฟต์แวร์ระหว่างเจ้าของลิขสิทธิ์กับผู้ใช้ปลายทาง ว่าอนุญาตให้ใช้ในลักษณะใดบ้าง ในส่วนของซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สแล้ว License ก็มีอยู่หลายแบบมาก เช่น GNU/GPL , GNU/LGPL , MIT, MPL-2.0   ( http://opensource.org/licenses)
  • Trademark (เครื่องหมายการค้า)

เนื่องจากผมเลือกที่จะพัฒนาซอฟต์แวร์ออกมาเป็นโอเพนซอร์ส แต่ซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้นมานั้นก็ยังคงเป็นลิขสิทธิ์ของผมอยู่ ไม่ใช่ว่าพอทำเป็นโอเพนซอร์สแล้วจะกลายเป็นซอฟต์แวร์ที่ไม่มีลิขสิทธิ์แต่ อย่างใด  จริงๆ แล้วคนที่พัฒนายังคงเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ (Copyright) อยู่ เพียงแต่ว่าเขาจะมีเงื่อนไขของการอนุญาต (License) เป็นแบบไหนซึ่งก็มีมากมายหลายแบบมาก ทีนี้สมมุติว่าเราเลือกเป็น GNU/GPL  ก็คือเราอนุญาตให้เขาเอาไปดัดแปลง แก้ไขและแจกจ่ายได้  การจะป้องกันการแอบอ้างประหนึ่งว่าคนที่เอาไปแจกเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์บน ซอฟต์แวร์ตัวนั้นเสียเอง  เขาก็จะไปจดชื่อของโปรดักส์เป็นเครื่องหมายการค้า (Trademark) แล้วใช้เครื่องหมายการค้าเป็นตัวบังคับห้ามใช้แทน ซึ่งก็ต้องมีเงินในการไปจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในแต่ละประเทศอีกเช่นกัน

ตัวอย่างเช่น โปรเจค Joomla
 
Copyright :  Open Source Software Matters Inc.

License : GNU/GPL

Trademark :  Joomla

แล้วถ้าหากเราทำซอฟต์แวร์ของเราเป็นโอเพนซอร์สแล้ว จะหารายได้มาจากทางไหน?

  • ขาย Subscription รายเดือน หรือ รายปี เพื่อให้สมาชิกสามารถเข้ามาโหลดซอฟต์แวร์ที่อับเดดได้ในช่วงระยะเวลาที่บอก รับสมาชิก แต่หากไม่ได้ต่ออายุสมาชิก ก็เพียงแต่ไม่สามารถเข้ามาโหลดเวอร์ชั่นใหม่ๆ ได้  ในการให้บริการแบบนี้ สิ่งที่ต้องเตรียมเพิ่มก็คือ เงื่อนไขการให้บริการ  (Term of Service)  ไม่เช่นนั้นอาจจะเจอลูกค้า request feature ให้เราทำเพิ่มไม่จบสิ้นก็เป็นได้
  • ให้บริการ อบรมการใช้งาน
  • ให้บริการ Implement /  พัฒนาเพิ่มเติม

ในส่วนของการจัดการผู้ละเมิดลิขสิทธิ์นั้น ถ้าเราเป็นเพียงบริษัทเล็กๆ ที่ไม่มีรายได้อะไรเยอะแยะ ก็คงลำบากครับ ในการที่จะไปไล่ฟ้องร้องผู้ละเมิดแต่ละราย ซึ่งต้องใช้เงินในการดำเนินการมากมายเลยทีเดียว  สิ่งหลักๆ ที่ควรจะต้องทำกันก็คือการปลูกจิตสำนึกในการเคารพลิขสิทธิ์ และไม่ใช้ของละเมิดลิขสิทธิ์ ตั้งแต่เด็กๆ กันเลยทีเดียว ร้านค้าแผ่นซอฟต์แวร์เถื่อนก็จะขายไม่ได้ไปเอง เจ้าหน้าที่ก็บังคับใช้กฏหมายให้เต็มที่  (ฝันไปแน่ๆ )

ในช่วงที่ผ่านมาเราคงจะได้ยินกฏหมายป้องกันละเมิดลิขสิทธิ์ของอเมริกา ที่เรียกกันสั้นๆ ว่า SOPA/PIPA  โดยส่วนตัวในฐานะของคนพัฒนาซอฟต์แวร์และทำเว็บไซต์ผมชื่นชมความกล้าหาญและ เอาจริงเอาจังกับการป้องกันการละเมิดลิขสิทธิ์ของเขานะครับ แต่ประเด็นที่น่าห่วง หรือกลัวกัน ก็คือ การกลั่นแกล้งกัน หรือใช้อำนาจไปในทางที่ผิด เพราะแค่มี ลิงก์ ไปยังแหล่งละเมิดลิขสิทธิ์แล้วเจ้าของเว็บไม่ได้ดำเนินการดูแล ลบทิ้งให้ดี ก็มีสิทธิ์ถูกปิดเว็บไซต์ได้ทันที  คล้ายๆ กับปัญหาที่เราเจอๆ กันอยู่กับ พรบ.คอมพิวเตอร์ ของบ้านเรา