Articles Category

Akarawuth.com

อัครวุฒิ ตำราเรียง

พอดีได้รับเชิญให้ไปบรรยายในหัวข้อ “ศักยภาพของนักพัฒนาซอฟต์แวร์ไทย กับ การบริหารจัดการสิทธิเหนือลิขสิทธิ์”  ในงานสัมมนา ส่งเสริมการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาด้านซอฟต์แวร์และการใช้ซอฟต์แวร์ให้ ถูกต้องตามกฏหมาย จัดโดย สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)  ในฐานะที่เป็นผู้ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับการพัฒนาซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สมา

บันทึกกันลืมครับ เนื่องจากนานๆ ทีจะกลับมาทำ vTiger CRM สักที พอดี vTiger CRM ออกเวอร์ชั่นใหม่ เป็นเวอร์ชั่น 5.2.1 ซึ่งที่เคยทำไว้ก็เป็น 5.1.0 ซึ่งนานพอสมควรที่ไม่ได้อับเดด พอดีบริษัทตัวเองจะใช้งานเอง จึงคันไม้คันมือ ทั้งๆ ที่ตัวเองก็มีงานอื่นอยู่ในมือหลายอย่าง แต่มันเหมือนว่าพอเห็นแล้วอดไม่ได้ ถ้าไม่ทำแล้วเหมือนมันค้างคาใจ ก็เลยนั่งรื้อฟื้นว่าเคยทำอะไรไปบ้าง แล้วก็ลงมือรวบรวมทำใหม่ สิ่งที่ต้องทำใน vTiger CRM เพื่อให้รองรับภาษาไทยได้สมบูรณ์หลักๆ ที่ต้องทำก็ตามนี้ครับ

จากที่เล่าไว้ในเส้นทางเดินสู่โลกโอเพนซอร์ส (ตอนที่ ๑ สนุกที่ได้ทำ) แล้วก็มาขั้นเวลาเต็มๆ ด้วยการเล่าผ่านรายการช่างคุย อีกที วันนี้เลยจะขอเล่าในส่วนของกิจกรรมที่เกิดขึ้นหลังจากที่เรามีเว็บ Community สร้างชุมชนของคนที่สนใจ ในเรื่องเหมือนกันแล้ว งานต่อจากการที่เราเจอกันบนโลกออนไลน์ ผ่านทางเว็บบอร์ด ผ่านทาง IM ตัวต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น MSN , Skype , Yahoo แล้ว วันหนึ่งเมื่อเราพร้อมและความต้องการสุกงอมพอดี เราก็จะอยากนัดหมายออกมาพบปะพูดคุยกันตัวเป็นๆ ละครับ เอาละครับลองมาดูเส้นทางกันดูหลายๆ คนอาจจะกำลังดำเนินการตามเส้นทางแบบนี้อยู่ก็ได้

ได้โอกาสเริ่มเล่าเรื่องซะที พอดีวันนี้คุณภาสกร หงษ์หยก จาก ช่างคุย.คอม มาชวนคุยอัดรายการ เรื่องราวเกี่ยวกับโอเพนซอร์ส ที่ทีมผมได้ลงมือทำกันมา เห็นพี่เขาบอกว่า ไม่วันจันทร์ก็อังคารนี้น่าจะขึ้นที่เว็บช่างคุย ไหนๆ ก็เพิ่งเล่าไป จะได้ไม่ต้องเสียเวลามานักนึกใหม่ ว่าเรื่องราวในอดีตมันเป็นมาอย่างไร ก็ลงมือเริ่มเขียนเล่าซะเลย

มหากาพย์ เรื่องราวเกี่ยวกับเส้นทางเดินสู่โลกโอเพนซอร์ส ของผมที่ได้ลองผิด ลองถูก มาตลอดระยะเวลาเกือบ 7 ปี จะถูกบันทึกถ่ายทอดไว้ที่นี่ ซึ่งผมเองก็ไม่แน่ใจว่าจะถูกแบ่งไว้ทั้งหมดกี่ตอน ขึ้นอยู่กับอารมณ์ความขยันในการเขียนเล่าเรื่องราว ว่าจะเขียนให้ละเอียดแค่ไหน ไม่ได้มีการเขียนร่างหรือกำหนดหัวข้อที่จะเขียนไว้ก่อนที่ลงมือ เป็นการเขียนสดผ่านหน้าจอ เท่าที่คิดไว้คร่าวๆ ว่าน่าจะเล่าเรื่องอะไรบ้าง ก็เช่น

  • ประสบการณ์การทำคอมมูนิตี้
  • การได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการพัฒนาโค้ดในโปรเจคหลักเช่น Mambo , Joomla ฯลฯ
  • การได้เข้าไปเป็นกรรมการบอร์ดขององค์กรที่ดูแลโปรเจคโอเพนซอร์ส เช่น Open Source Matters Inc, Mambo Foundation Inc
  • การทำงานกับภาครัฐที่เราหวังว่าเขาจะส่งเสริมโอเพนซอร์ส เช่น SIPA , NECTEC
  • โมเดลธุรกิจ ของบริษัทโอเพนซอร์ส
  • งานฟรีที่ไปช่วยเขาทำ แต่พอเขามีงบกลับไปจ้างคนอื่น (ผมไม่ใช่ NGO แต่ทำยิ่งกว่า)
  • ประสบการณ์การ Implement งานให้กับบริษัท, องค์กรต่างๆ ด้วย Software Open Source
  • จุดกำเนิด สมาคมส่งเสริมและพัฒนาโอเพ่นซอร์ส (OSEDA)
  • โครงการที่อยากทำถ้ามีทุน (อาจจะต้องทำผ่านทาง OSEDA)

 FLEXIContent CCK for Joomla งาน JandBeyond 2010 ที่เยอรมันผ่านพ้นไปแล้ว ในงานนี้เป็นปีแรกของการแจกรางวัล Joomla Open Source Creative and Artistic Recognition (J.O.S.C.A.R) ซึ่งมีผู้ร่วมในงานจาก 27 ประเทศ รางวัลได้ถูกแบ่งออกเป็นประเภทต่างๆ มาจากการเสนอชื่อจากผู้ใช้งานจูมล่าทั่วโลก การประกาศผลรางวัลโดยละเอียดไปอ่านจากใน Blog ของฝรั่งต่อเอาเองแล้วกันนะครับ (รายชื่อผู้ได้รับรางวัลทั้งหมด) ในที่นี้ผมจะพูดถึงเฉพาะรางวัลที่เราได้รับมาเท่านั้น หนึ่งในรางวัลที่แจกกันในปีนี้นั้น เป็นโปรเจคที่ทางบริษัทมาร์เวลิค เอ็นจิ้น ได้พัฒนาร่วมกันกับบริษัทวิสต้ามีเดีย ประเทศฝรั่งเศส คือ Extension สำหรับ จูมล่า ชื่อ FLEXIContent (https://www.flexicontent.org) ซึ่งเป็น Content Construction Kit (CCK) ทำให้ขีดความสามารถในการใช้งาน Joomla นั้นมีมากยิ่งขึ้นและรองรับ การพัฒนาเว็บไซต์ได้หลากหลายรูปแบบ และหลายประเภทของข้อมูล

Tony Tony

เมนูโปรด ทานที่เมืองไทยแต่ละร้านก็จะไม่ค่อยเหมือนกัน   เคยไปทานที่ Boston ยิ่งต่างจากที่ไทย (ที่ไทยอร่อยกว่า)